วิธีอ่านคำบาลี

Last updated: 20 ส.ค. 2562  |  7780 จำนวนผู้เข้าชม  | 

วิธีอ่านคำบาลี

คำว่า “บาลี” พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ให้ความหมายไว้ว่า

(๑) น. ภาษาที่ใช้เป็นหลักในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (ป., ส. ปาลิ). 
(๒) น. คัมภีร์พระไตรปิฎก, พุทธพจน์, เรียกว่า พระบาลี. (ป., ส. ปาลิ).
 
โดยคำบาลีจะมีหลักการอ่านง่าย ๆ เพียง ๓ ข้อ ดังนี้

๑. พยัญชนะที่ไม่มีสระกำกับ อ่านเหมือนมีสระ อะ เช่น
 
ยท อ่านว่า ยะ - ทะ
นาม อ่านว่า นา - มะ
 
๒. วงกลมด้านบน เรียกว่า นิคหิต พยัญชนะที่มีนิคหิตอยู่ด้านบน อ่านเหมือนมี “อัง” สะกด เช่น
 
สาธุการํ อ่านว่า สา-ธุ-กา-รัง
พลํ อ่านว่า พะ-ลัง
อาจริยํ อ่านว่า อา-จะ-ริ-ยัง
 
-ถ้ามีสระอื่นร่วมกับนิคหิต ให้อ่านเหมือนมีสระนั้นๆ และมีเป็น สะกด เช่น
สทฺธึ อ่านว่า สัด-ธิง
พาหุํ อ่านว่า พา-หุง
 
๓. จุดข้างล่าง เรียกว่า พินทุ ทำให้พยัญชนะที่มีพินทุอยู่ข้างล่างทำหน้าที่เป็นตัวสะกด
 
-ถ้าหน้าตัวสะกดไม่มีสระกำกับ ให้อ่านเหมือนมีไม้หันอากาศ เช่น
ภนฺเต อ่านว่า ภัน-เต
อตฺตโน อ่านว่า อัด-ตะ-โน
 
-ถ้ามีสระร่วมกับพยัญชนะที่มีพินทุอยู่ข้างใต้ ให้อ่านเหมือนสระนั้น ๆ มีพยัญชนะนั้นเป็นตัวสะกด เช่น
วุจฺจติ อ่านว่า วุด-จะ-ติ
สิกฺขิเต อ่านว่า สิก-ขิ-เต
เนตฺติยํ อ่านว่า เนด-ติ-ยัง

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้